การปรับเป็นพินัย (1/3/2564)

การปรับเป็นพินัย

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบผ่าน ‘ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย’ โดย ‘การปรับเป็นพินัย’ เป็นมาตรการใหม่ที่จะนำมาใช้กับความผิดที่ไม่ร้ายแรง โดยจะไม่มีการจำคุกหรือกักขัง รวมทั้งไม่มีการลงบันทึกในประวัติอาชญากรรม การปรับเป็นพินัยนี้จะใช้แทนโทษปรับทางปกครองและโทษทางอาญา ที่มีโทษปรับสถานเดียว แต่ไม่รวมถึงโทษปรับทางปกครองในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้กระทำความผิดจะต้องชำระค่าปรับที่เรียกว่า “ค่าปรับเป็นพินัย” ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐจะกำหนดค่าปรับโดยพิจารณาจากความรุนแรงของผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิด ประกอบกับฐานะของผู้กระทำผิดด้วย และอาจกำหนดให้ทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับได้

นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดหลักการพิจารณาความผิดทางพินัยเอาไว้ด้วย โดยให้นำบทบัญญัติในภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป ลักษณะ 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ในเฉพาะบางหมวด มาใช้บังคับกับการปรับเป็นพินัยโดยอนุโลม ได้แก่ หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด และหมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน

โดยกฎหมายว่าด้วยกิจการอวกาศฉบับนี้ เป็นการยกระดับกฎหมายเพื่อให้เกิด
การกำกับดูแลและส่งเสริมกิจการอวกาศทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน โดยจะก่อให้เกิดนโยบายรองรับในการเข้าใช้ประโยชน์จากห้วงอวกาศและแผนบริหารจัดการด้านกิจการอวกาศอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การกำหนดให้มีใบอนุญาตการดำเนินกิจกรรมอวกาศ การจดทะเบียนวัตถุอวกาศ การให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เป็นต้น

ฉบับวันที่ 1 มีนาคม 2564