วันหยุดเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

วันหยุดเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

หลังจากที่ได้มีการผ่อนปรนมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ

Covid-19 และรัฐบาลได้กำหนดวันหยุดชดเชยและวันหยุดเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนท่องเที่ยวภายในประเทศและเพิ่มการจับจ่ายใช้สอย

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางประเภทอาจมองว่าการกำหนดวันหยุดพิเศษดังกล่าวอาจะไม่ได้ส่งผลดีกับธุรกิจของตน เนื่องจากตนอาจจะต้องสูญเสียรายได้ รวมถึงขาดแรงงานที่จะทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว การกำหนดวันหยุดพิเศษจึงอาจเปรียบเสมือนดาบสองคมที่ผู้ประกอบธุรกิจควรระวัง !

ในเรื่องนี้ มาตรา 29 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดหลักการเกี่ยวกับการบริหารจัดการวันหยุดของลูกจ้างโดยนายจ้าง โดยให้นายจ้างกำหนดวันหยุดได้ตามที่เห็นสมควร โดยจะต้องกำหนดล่วงหน้า และปีหนึ่งต้อง
ไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ และจะต้องกำหนดวันหยุดตามวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณี
แห่งท้องถิ่น ซึ่งหากนายจ้างได้ปฏิบัติตามมาตรา 29 ครบถ้วนแล้ว นายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินการอื่นใดอีก

คำถามมีต่อไปว่า หากรัฐบาลประกาศวันหยุดเพิ่มเติม นายจ้างจะต้องดำเนินการ
จัดวันหยุดเพิ่มเติมให้กับลูกจ้างหรือไม่ คำตอบคือ นายจ้างอาจพิจารณาจัดวันหยุดเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน
มาตรา 29 ทั้งนี้ ปัจจุบันการประกาศวันหยุดเพิ่มเติมของรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มา ยังไม่มีสภาพบังคับที่กำหนดให้นายจ้างต้องปฏิบัติตาม เป็นเพียงแต่การขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการภาคเอกชนเท่านั้น

ฉบับลงวันที่ 28 ตุลาคม 2563