เหตุสุดวิสัย (22/3/2564)

เหตุสุดวิสัย

เรามักจะพบคำว่า “เหตุสุดวิสัย” อยู่ในกฎหมาย หรือเอกสารทางกฎหมายต่าง ๆ มากมาย ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ให้ความหมายของ “เหตุสุดวิสัย” ไว้ในมาตรา 8 โดยกำหนดว่า เหตุสุดวิสัย หมายถึงเหตุการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่สามารถป้องกันหรือคาดหมายได้แม้จะได้ใช้ความระระมัดระวังแล้วก็ตาม ซึ่งเหตุการณ์ที่ไม่สามารถป้องกันหรือคาดหมายได้นี้ จะต้องไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อ กล่าวคือ เป็นเหตุที่โทษใครไม่ได้นั่นเอง เช่น ภัยธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย

ทั้งนี้ มีตัวอย่างของเหตุการณ์ที่น่าสนใจซึ่งไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย เช่น การดำเนินการจัดสรรที่ดินและประกาศขายที่ดินพร้อมที่พักโดยไม่ได้เตรียมเงินลงทุนไว้ให้พร้อมก่อน เมื่อสถาบันการเงินระงับ
การให้กู้จนเป็นเหตุให้การปลูกสร้างหยุดชะงักไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย แต่เกิดจากความผิดพลาดที่ไม่เตรียมการป้องกันไว้ก่อนทั้ง ๆ ที่สามารถทำได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842 – 844/2553) หรือ
ผู้ที่ลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำมาจัดสรรขายให้กับประชาชนทั่วไปนั้น ต้องมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างรัดกุม รวมถึงการคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อให้สามารถรับความเสี่ยงได้สูง
เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาลจะมีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจทั่วไป ก็ไม่ใช่ภาวะที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ หรือไม่สามารถแก้ไขได้ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้การดำเนินการ
ปลูกสร้างในโครงการไม่เสร็จ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2551) เป็นต้น

ดังนั้น การดูเรื่องเหตุสุดวิสัยจึงต้องดูว่าเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นสามารถคาดการณ์ได้ หรือป้องกันได้หรือไม่ โดยจะต้องดูสถานะและภาวะของคนที่ตกอยู่ในเหตุกาณ์นั้น ๆ ประกอบด้วย

ฉบับวันที่ 22 มีนาคม 2564